เมื่อสมองเบลอแต่เช้า ต้องรีบแก้ไขด่วน!!

Last updated: 16 ส.ค. 2561  |  1143 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เมื่อสมองเบลอแต่เช้า ต้องรีบแก้ไขด่วน!!

 โอ๊ย…ทำไมถึงหัวตื้อๆ เบลอสุดๆ คิดอะไรไม่ค่อยออก ทั้งเหนื่อย เพลีย ไม่มีแรง เหมือนสมองล้า บางทีถึงขั้นสับสนหลงๆ ลืมๆ ได้ง่าย ขึ้นลิฟท์มาก็ลืมกดชั้น กางเกงก็ดันไม่ได้รูดซิป ออกจากบ้านมาแล้ว ก็พึ่งนึกได้ว่าลืมมือถือไว้หัวเตียง เฮ้อ!!! เกิดอะไรขึ้นกับเราเนี่ย!!

     เบลอแต่เช้า อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายเสียสมดุล โดยเฉพาะ “สุขภาพสมอง” ศูนย์บัญชาการหลักที่ใช้ในการสั่งการระบบต่างๆ ของร่างกายซึ่งมีโครงสร้างที่ซับซ้อนและประกอบไปด้วยเซลล์ประสาท (neuron) จำนวนมากกว่าแสนล้านเซลล์ แม้ว่าสมองเป็นอวัยวะที่มีน้ำหนักเพียง 2% ของน้ำหนักร่างกาย  แต่ต้องการออกซิเจนไปเลี้ยงมากถึง 20% ของออกซิเจนที่หายใจเข้าไป โดยเลือดจะเป็นตัวนำพาเอาออกซิเจนและกลูโคสซึ่งเป็นแหล่งพลังงานมาเลี้ยงสมอง โดยเฉพาะสมองส่วนหน้าที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการคิด ความจำ หากเราทำงานหนัก เครียด พักผ่อนไม่พอ ใช้ความคิดมากๆ แต่ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงไม่เพียงพอ สมองก็จะเหนื่อยล้า เราจึงรู้สึกว่าคิดอะไรได้ช้าลง  มึนงง เบลอๆ ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันแย่ลง

     หากความเบลอมาเยือนแล้วเรายังฝืนใช้ร่างกายและสมองอย่างหนักโดยไม่ดูแล วันหนึ่งศูนย์บัญชาการนี้อาจพังจนซ่อมยาก ดังนั้นอย่าปล่อยให้ทุกอย่างย่ำแย่ไปกว่านี้ รีบหันมาเติมพลังกายเสริมบำรุงสมอง ลดอาการเบลอแต่เช้ากันเสียแต่วันนี้ เริ่มต้นด้วยการบริโภคอาหารให้ครบหมวดหมู่และหลากหลาย ในปริมาณที่เหมาะสม อาหารเช้าอย่าให้ขาด ดื่มน้ำให้เพียงพอ ขณะเดียวกันคุณควรเลือกรับประทานอาหารที่มีสารอาหารเพื่อสุขภาพสมองควบคู่กันไป เช่น กรดไขมันที่ช่วยสร้างเซลล์ประสาทในการรับรู้

 กรดอะมิโนจากโปรตีนที่ใช้ในการสร้างสารสื่อประสาทซึ่งทำหน้าที่ถ่ายทอดข้อมูลระหว่างเซลล์ประสาท กลูโคสจากคาร์โบไฮเดรตที่จะเป็นเชื้อเพลิงที่สำคัญให้แก่สมองในการสร้างพลังงาน รวมถึงวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ อย่างธาตุเหล็กและวิตามินบี เพื่อช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพให้สมองและการทำงาน ส่วนใครที่เคยทำงานหามรุ่งหามค่ำ บ้างานหนักจนแทบไม่มีเวลาพักผ่อน เล่นเกมอยู่ในโลกโซเชียล ดูซีรีย์ หรือชอบทำกิจกรรมจนดึกดื่น ขอร้องให้คุณเลิกพฤติกรรมดังกล่าวโดยเร็วที่สุด เพราะการนอนไม่พอจะทำให้สมองประมวลความคิดช้า ไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า รู้สึกเบลอๆ ล้า ๆ ทำงานไปแบบง่วงๆ ประสิทธิภาพในการทำงานลดต่ำลงมากกว่าปกติ

     แต่ด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบและไม่มีเวลามากพอ การหันมาบำรุงสมองและระบบประสาทด้วยอาหารฟังก์ชันอย่าง ซุปไก่สกัด ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยของผู้ที่มีอาการสมองเบลอ คิดอะไรไม่ออก เหนื่อยล้าจากการทำงานที่น่าสนใจ เนื่องจากประกอบด้วยสารประกอบสำคัญ คือ “ไบโอ-อะมิโน เปปไทด์ คอมเพล็กซ์” ซึ่งเป็นกรดอะมิโนและสารไดเปปไทด์ที่พร้อมให้ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้ทันทีแล้ว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของสมอง โดยช่วยให้เลือดสามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมองโดยเฉพาะส่วนหน้าซึ่งเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ การคิด ตัดสินใจได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติหลายฉบับยืนยันคุณค่าและประโยชน์ต่อสุขภาพหลากหลายด้าน อาทิ ผลงานวิจัยของ Prof. Dr. Azhar และ Syed ในปี 2008 พบว่า ซุปไก่สกัดมีผลต่อสารสื่อประสาทในสมอง ช่วยลดความวิตกกังวล เพิ่มความตื่นตัวและช่วยให้มีสมาธิดีขึ้นซึ่งทำให้เกิดความผิดพลาดในการทำงานน้อยลง และล่าสุดจากการวิจัยของ Chan และคณะ ในปี 2016 พบว่า ซุปไก่สกัดช่วยเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้จดจำ โดยเฉพาะความจำระยะสั้นในกลุ่มคนวัยทำงานที่มีภาวะเครียดหรือวิตกกังวลสูง

     รู้อย่างนี้แล้วใครที่สมองเบลอๆ ตื่นมาเหมือนนอนไม่เพียงพอ สมองไม่แล่นและเหนื่อยล้าจากการทำงานอยู่บ่อยๆ ล่ะก็… ลองหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอน หาเวลาออกกำลังกาย ควบคู่กับบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการหรือหาตัวช่วยที่เป็นอาหารฟังก์ชั่น เพื่อการมีสมองและร่างกายที่พร้อมรับทุกสถานการณ์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

อ. ดร. วาลุกา พลายงาม วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก ม.รังสิต

Reference:

Azhar M.Z. et al. Effect of Taking Chicken Essence on Cognitive Functioning of Normal Stressed Human Volunteers. Mal. J. Med. Health. Sci.  2008;4(1):57-68.
Chan L, Wang H-M, Chen K-Y, Lin Y-C, Wu P-J, Hsieh W-L, et al. Effectiveness of Essence of Chicken in Improving Cognitive Function in Young People Under Work-Related Stress: A Randomized Double-Blind Trial. Medicine. 2016; 95(19).
Konagai C, Watanabe H, Abe K, Tsuruoka N, Koga Y. Effects of essence of chicken on cognitive brain function: a near-infrared spectroscopy study. Bioscience, biotechnology, and biochemistry. 2013; 77(1): 178-81.

Cr.https://www.khaosod.co.th/uncategorized/news_1443713


 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้