"เบาหวาน" กิน "คาร์โบไฮเดรต" อย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ

Last updated: 23 ส.ค. 2563  |  630 จำนวนผู้เข้าชม  | 

"เบาหวาน" กิน "คาร์โบไฮเดรต" อย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ

นอกจากการออกกำลังกาย การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การใช้ยาและรักษาตามแพทย์สั่งแล้ว อาหารการกินก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวาน สามารถควบคุมโรคเบาหวานได้ดีขึ้น และอาหารรูปแบบหนึ่งที่

Hello คุณหมอ อยากแนะนำให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน และผู้ที่ต้องการลดความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ลองบริโภค ก็คือ อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำนั่นเอง ว่าแต่ อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำกับคนเป็นเบาหวาน  สัมพันธ์กันยังไง เราไปหาคำตอบจากบทความนี้กันเลย


คาร์โบไฮเดรต น้ำตาลในเลือด และเบาหวาน
โดยปกติแล้ว เวลาที่เรากินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเข้าไป ร่างกายจะย่อยคาร์โบไฮเดรตให้เป็นกลูโคส (Glucose) ซึ่งก็คือน้ำตาลในเลือดนั่นเอง เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ตับซึ่งทำหน้าที่ผลิตอินซูลิน (ฮอร์โมนที่นำน้ำตาลกลูโคสจากเลือดเข้าสู่เซลล์) ก็ต้องทำงานหนักขึ้นตามไปด้วย

สำหรับคนที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดในแต่ละวันจะอยู่ในระดับที่ค่อนข้างคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงมาก ผิดกับคนที่เป็นโรคเบาหวานซึ่งระดับน้ำตาลจะค่อนข้างแปรปรวน และการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำเกินไป ก็สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายได้หลายด้านเลยทีเดียว


อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำดีต่อคนเป็นเบาหวานอย่างไร?
งานศึกษาวิจัยหลายชิ้นระบุว่า การกินอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมโรคเบาหวานได้ดีขึ้น โดยงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่มีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่กินอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน พบว่า พวกเขาสามารถควบคุมโรคเบาหวานได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ที่ควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ได้รับในแต่ละวัน ก็มีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจด้วยเช่นกัน


คนเป็นเบาหวานควรกินคาร์โบไฮเดรตเท่าไร?
สมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา (American Diabetes Association หรือ ADA) ระบุว่า ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานนั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล บางคนอาจควรกินคาร์โบไฮเดรตไม่เกินวันละ 20 กรัม ในขณะที่บางคนควรกินคาร์โบไฮเดรตวันละ 70-90 กรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะโรค ระดับน้ำตาลในเลือดที่คาดหวัง พลังงานที่ต้องการในแต่ละวัน เป็นต้น

หากอยากรู้ว่าตัวเองควรกินคาร์โบไฮเดรตในปริมาณเท่าไหร่ คุณอาจใช้วิธีวัดระดับน้ำตาลในเลือดก่อนกินอาหาร และหลังกินอาหาร 1-2 ชั่วโมง คุณควรรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ต่ำกว่า 140 mg/dL เพราะหากสูงกว่านั้นจะทำให้ระบบประสาทถูกทำลายได้

อย่างไรก็ดี ก่อนตัดสินใจควบคุมโรคเบาหวานด้วยการกินอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ คุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง เพื่อจะได้หารูปแบบและปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสม และลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง


อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำกับคนเป็นเบาหวาน แบบไหนถึงจะเหมาะ

หากคุณอยากควบคุมโรคเบาหวาน หรือลดความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ ด้วยการกินอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ และควรบริโภคและลดอาหารดังต่อไปนี้

อาหารที่ควรลดหรืองด

-ขนมปัง
-ข้าว
-พาสต้า
-ซีเรียล
-ธัญพืช
-ผักมีแป้งมาก เช่น มันฝรั่ง มันเทศ เผือก นมวัว
-ผลไม้ ยกเว้น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่
-น้ำอัดลม
-ชารสหวาน
-เบียร์
-ขนมหวาน
-ขนมอบ
-ลูกอม
-ไอศกรีม

อาหารที่ควรกิน

-เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อปลา และอาหารทะเล
-ไข่
-ชีส
-ผักมีแป้งต่ำ เช่น ผักตระกูลกะหล่ำ อย่างกะหล่ำปลี บร็อคโคลี ปวยเล้ง คะน้า
-อาหารที่มีไขมันดี เช่น อะโวคาโด น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว


ตัวอย่างปริมาณอาหารแต่ละชนิดที่แนะนำ

ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ : ไม่เกิน 1 ถ้วย

โยเกิร์ตรสธรรมชาติ หรือกรีกโยเกิร์ต : ไม่เกิน 1 ถ้วย

ถั่วต่าง ๆ : 30-60 กรัม

เมล็ดแฟล็กซ์ หรือเมล็ดเจีย : 2 ช้อนโต๊ะ

ดาร์กช็อกโกแลต (มีโกโก้อย่างน้อย 85%) : ไม่เกิน 30 กรัม

ฟักทอง : ไม่เกิน 1 ถ้วย

คำแนะนำ : ผู้ป่วยเบาหวานควรกินอาหารให้ครบวันละ 3 มื้อ และมีคาร์โบไฮเดรตในทุกมื้อ โดยเน้นคาร์โบไฮเดรตจากผักและผลไม้ และต้องไม่ลืมกินโปรตีน และไขมันดีด้วย


cr. https://www.sanook.com/



Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้